วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552
แนวทางในการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน
1. ภาพรวมอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน
เป็นเวลา 40 ปีมาแล้วที่อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทย และได้มีการพัฒนาเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิตทั้งอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่อง จากการประเมินสถานการณ์ปาล์มน้ำมันล่าสุดในปี พ.ศ. 2550 พบว่า ไทยมีพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มน้ำมันประมาณ 2.7 ล้านไร่ ผลผลิต ทะลายปาล์มประมาณ 6.7 ล้านตัน/ปี มูลค่าผลผลิตทะลายประมาณ 30,000 ล้านบาท/ปี เกษตรกรที่มีอาชีพในการทำสวนปาล์มน้ำมันมีมากกว่า 1 แสนครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่ปลูกอยู่ในจังหวัดทางภาคใต้ ผลผลิตทะลายทั้งหมดที่เกษตรกรผลิตได้จะขายให้กับพ่อค้าคนกลาง (อาจเรียก ลานเท หรือ แล็ม) หรือขายให้กับโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบโดยตรง ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่า 48 โรงงาน ที่ตั้งโรงงานส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดทางภาคใต้เช่นกัน ปริมาณน้ำมันปาล์มดิบที่สกัดได้ประมาณ 1.3 ล้านตัน/ปี มูลค่าประมาณ 40,000 ล้านบาท/ปี ปริมาณเนื้อเมล็ดในปาล์ม ประมาณ 8 แสนตัน/ปี มูลค่าประมาณ 8,000 ล้านบาท น้ำมันปาล์มดิบจากโรงงานสกัดเกือบทั้งหมดจะขายให้กับโรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มในไทย ซึ่งมีจำนวน 12 โรงงาน ที่ตั้งโรงงานส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดทางภาคกลาง ปริมาณน้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์ที่ผลิตได้ประมาณ 1 ล้านตัน/ปี มีมูลค่าประมาณ 40,000 ล้านบาท ปริมาณน้ำมันปาล์มสเตียรีนประมาณ 3 แสนตัน/ปี มีมูลค่าประมาณ 6,000 ล้านบาท นอกจากผลผลิตหลักที่ได้จากปาล์มน้ำมันที่กล่าวข้างต้นแล้ว ในกระบวนการผลิตระดับสวนปาล์มและโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มยังมีวัสดุพลอยได้อื่นๆ อีกจำนวนมากที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น ลำต้นแก่ ช่อดอกเพศผู้ ทางใบปาล์ม ทะลายเปล่าปาล์มน้ำมัน กากเนื้อเมล็ดในปาล์มน้ำมัน กากเส้นใย กะลาปาล์ม กากตะกอนในโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม น้ำจากบ่อบำบัดน้ำเสียของโรงงาน และน้ำมันปาล์มใช้แล้ว เป็นต้น
2. องค์ความรู้ในการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน
ในการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันเพื่อให้ได้พันธุ์ดีที่มีผลผลิตน้ำมัน/หน่วยพื้นที่สูง จำเป็นอย่างยิ่งที่นักปรับปรุงพันธุ์ต้องเข้าใจลักษณะโครงสร้างพื้นฐานทางพันธุกรรมและลักษณะพื้นฐานทางการเกษตรของปาล์มน้ำมัน รวมทั้งต้องอาศัยองค์ความรู้ทางด้านพันธุศาสตร์เพื่อช่วยให้งานปรับปรุงพันธุ์มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิผล ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
2.1 โครงสร้างทางพันธุกรรม และพันธุ์ปลูกของปาล์มน้ำมัน
ปาล์มน้ำมันจัดเป็นพืชยืนต้นที่สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี แต่ละต้นมีดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ในต้นเดียวกันแต่บานไม่พร้อมกัน จึงจัดเป็นพืชผสมข้ามต้น ดังนั้นโครงสร้างพันธุกรรมพื้นฐานของปาล์มน้ำมันจึงอยู่ในรูปของเฮเทอโรไซกัส (heterozygous) พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่นิยมใช้ปลูกเป็นการค้าในปัจจุบันเป็นปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา ซึ่งได้จากการควบคุมการผสมระหว่างปาล์มน้ำมันแบบดูรา (แม่พันธุ์) กับปาล์มน้ำมันแบบพิสิเฟอรา (พ่อพันธุ์) เนื่องจากปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอราจะให้ผลผลิตน้ำมัน/หน่วยพื้นที่/หน่วยเวลา สูงกว่าปาล์มน้ำมันแบบอื่นๆ การเก็บเมล็ดจากต้นปาล์มที่ไม่ผ่านการควบคุมการผสม (หรือเรียกเมล็ดโคนต้น) จะทำให้ต้นชั่วลูกมีความแปรปรวนสูงและมีผลผลิตน้ำมันต่อหน่วยพื้นที่ต่ำไม่คุ้มค่ากับการลงทุนปลูก
2.2 ระยะต่างๆ ของปาล์มน้ำมัน และ ช่วงเวลาโดยประมาณ
ทางใบปาล์มทุกทางใบที่ถูกพัฒนาเพิ่มขึ้นตลอดอายุของปาล์มน้ำมัน ตั้งแต่ระยะกล้าปาล์มในถุงเพาะเป็นต้นมา จะมีตาดอกอยู่ที่ซอกมุมทางใบปาล์ม และพร้อมที่จะพัฒนาเป็นช่อดอกได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น พันธุกรรมของปาล์มน้ำมัน สภาพแวดล้อมโดยธรรมชาติ และการบริหารจัดการปาล์มน้ำมันตั้งแต่ระยะกล้าปาล์มในถุง จนถึงระยะที่ปลูกปาล์มลงในแปลงปลูกแล้ว ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาพันธุ์และการผลิตปาล์มน้ำมันมีประสิทธิผลสูง จึงจำเป็นต้องทราบระยะต่างๆ ที่สำคัญ และช่วงเวลาการพัฒนาโดยประมาณ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1) ระยะตาดอกในซอกทางใบ ถึงระยะกำหนดเพศของช่อดอก (ดอกเพศผู้หรือดอกเพศเมีย) ใช้ระยะเวลา 12 เดือน
2) ระยะกำหนดเพศของช่อดอก ถึงระยะช่อดอกโผล่พ้นทางใบให้เห็น ใช้ระยะเวลา 24 เดือน
3) ระยะผสมพันธุ์ ถึงระยะเก็บเกี่ยวทะลายปาล์ม ใช้ระยะเวลา 6 เดือน
4) ระยะเมล็ดพันธุ์ ถึงระยะเมล็ดงอกพร้อมเพาะปลูกลงถุงพลาสติกดำ ใช้ระยะเวลา 4 เดือน
5) ระยะกล้าปาล์มในถุงเพาะ ถึง ระยะกล้าปาล์มพร้อมปลูกลงแปลง ใช้ระยะเวลา 12-14 เดือน
6) ระยะต้นปาล์มในแปลงปลูก ถึงระยะการเริ่มให้ผลผลิตทะลาย ใช้ระยะเวลา 3 ปี โดยผลผลิตจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับพันธุ์ปาล์มและความสมบูรณ์ของต้นปาล์ม
7) ระยะต้นปาล์มในแปลงปลูก ถึงระยะการให้ผลผลิตทะลายสูงสุด ใช้ระยะเวลา 9-12 ปี โดยผลผลิตจะเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับพันธุ์ปาล์มและความสมบูรณ์ของต้นปาล์มเช่นกัน ปกติเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตทะลายปาล์มได้นานมากกว่า 20 ปี
2.3 การปลูกปาล์มน้ำมันให้ได้ผลผลิตดี
การปลูกปาล์มน้ำมันให้ได้ผลดีนั้น ควรให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาปาล์มในแปลงให้ดี โดยเฉพาะช่วง 10 ปีแรกหลังจากปลูก เนื่องจากผลผลิตทะลายสดของปาล์มน้ำมัน จะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการจัดการสวนปาล์ม 3 ช่วงเวลา คือ ช่วง 0-3 ปี (ก่อนให้ผลผลิต) ช่วง 4-10 ปี (ผลผลิตเพิ่มรวดเร็ว) และช่วงหลังจาก 10 ปี (ผลผลิตเริ่มลดลงตามอายุ) ดังนั้นจะเห็นว่าการจัดการสวนเพื่อให้ปาล์มน้ำมันที่ปลูกดีที่สุดในช่วงอายุ 0-10 ปีแรกจึงมีความสำคัญมาก
สำหรับข้อควรพิจารณาเพื่อการปลูกปาล์มน้ำมันให้ได้ผลผลิตดี และประสบความสำเร็จ ได้แก่
1) ใช้พันธุ์ปาล์มที่ดีมาปลูก
- ต้องเป็นพันธุ์ลูกผสมเทเนอรา ที่ผ่านการทดสอบแล้วว่าให้ผลผลิตดีในประเทศไทย
- ต้องได้รับพันธุ์ปาล์มอย่างถูกต้องจากแหล่งผลิตที่มีมาตรฐานและน่าเชื่อถือ
2) ใช้ต้นกล้าปาล์มที่สมบูรณ์มาปลูก
- อายุต้นกล้าสมบูรณ์ที่เหมาะสม เพื่อนำมาปลูกประมาณ 12-14 เดือน
- กล้าปาล์มอายุดังกล่าว ต้องผ่านการคัดทิ้งต้นที่มีลักษณะผิดปกติและไม่สมบูรณ์ออก
3) เลือกปลูกในพื้นที่เหมาะสม
- ปริมาณน้ำฝน ควรมากกว่า 2,000 มม./ปี (หรืออย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1,700 มม./ปี) มีการกระจายของฝนดีตลอดทั้งปี
- มีความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศ มากกว่า 85% ตลอดทั้งปี
- มีแสงแดด ประมาณ 5-7 ชั่วโมง/วัน ตลอดทั้งปี
- มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 25-29 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิสูงสุดอยู่ระหว่าง 29-33 องศาเซลเซียส และมีอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ระหว่าง 22-24 องศาเซลเซียส
- ดินร่วนและมีการระบายน้ำดี
- คุณสมบัติทางเคมีของดินที่เหมาะสม (เฉพาะหน้าดิน ลึก 0-15 ซม.) เช่น มี pH 4.5-5.5 มี P ที่เป็นประโยชน์ > 20 mg/kg มี K ที่แลกเปลี่ยนได้ > 0.25 cmol/kg มี Mg ที่แลกเปลี่ยนได้ > 0.25 cmol/kg
4) จัดวางระยะปลูกปาล์มที่เหมาะสม
- ขึ้นอยู่กับลักษณะประจำพันธุ์ โดยทั่วไปใช้ ระยะ 9 x 9 x 9 เมตร
- ปลูกเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า มีประชากร ประมาณ 22 ต้น/ไร่ ที่ระยะปลูก 9 x 9 x 9 เมตร ไม่ควรใช้ระยะปลูกแคบ เพราะจะมีผลกระทบต่อการให้ผลผลิตของปาล์มเมื่อปาล์มมีอายุมากขึ้น นับตั้งแต่ปีที่ 8 เป็นต้นไป
5) เลือกช่วงเวลาการปลูกที่เหมาะสม
- ต้นฤดูฝนจนถึงกลางฤดูฝน
6) มีการจัดการและดูแลรักษาหลังปลูกที่ดี เช่น
- การกำจัดวัชพืช : ไม่ควรใช้สารเคมีฉีดจนถึงเดือนที่ 19 หลังปลูก ควรระวัง ผลกระทบของสารเคมีต่อใบและต้นปาล์ม
- การตัดช่อดอกทิ้ง : ขณะที่ปาล์มมีอายุน้อย (16-24 เดือน) หากมีการออกดอก ควรตัดหรือดึงช่อดอกเพศผู้และเพศเมียที่เกิดรุ่นแรกทิ้ง เพื่อให้ปาล์มได้มีการเจริญเติบโตทางลำต้นได้เต็มที่ ข้อควรระวังคือ ต้องไม่ทำลายทางใบที่รองรับช่อดอกที่ตัดทิ้งนั้น
- การใส่ปุ๋ย : ใส่ N , P, K , Mg , และ B ในอัตราที่เหมาะสมที่สุดกับอายุปาล์ม นับตั้งแต่การปลูกปีแรก ในปีที่ 2 หลังปลูก ควรเริ่มมีการวิเคราะห์ดินและใบปาล์ม เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการใส่ปุ๋ยให้ถูกต้องตามความต้องการธาตุอาหารของปาล์ม และควรวิเคราะห์ดินและใบอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง การใส่ปุ๋ยควรมีการแบ่งใส่ปุ๋ยอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง ยกเว้นปุ๋ยฟอสฟอรัสใส่ได้ปีละ 1 ครั้ง
- การตัดแต่งทางใบ : ควรเริ่มตัดแต่งทางใบในช่วงที่มีการเก็บเกี่ยวผลผลิต และเมื่อปาล์มให้ผลผลิตแล้วควรตัดทางใบให้เหลือทางใบอย่างน้อย 2 ชั้นล่างจากทะลายปาล์มต่ำสุด
- การอนุรักษ์ความชื้นดิน : วางซ้อนทางใบขวางแนวลาดเท อย่าปล่อยให้หน้าดินระหว่างแถวว่างเปล่าหรือคลุมโคนด้วยทะลายเปล่า
- การให้น้ำ : รักษาระดับน้ำไว้ที่ 0.8 เมตร
- ศัตรูปาล์ม : มีการป้องกันกำจัดหนูในสวนปาล์มทั้งก่อนและหลังจากที่ปาล์มให้ผลผลิต
- การเก็บเกี่ยว : เก็บเกี่ยวทุก 7-15 วัน เมื่อปาล์มถึงอายุเก็บเกี่ยว (ประมาณเดือนที่ 31 หลังการปลูก) ควรเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มที่สุกแก่พอเหมาะ โดยสังเกตจากการเปลี่ยนสีของผลปาล์มในทะลายและการร่วงของผลจากทะลายบนต้น จำนวน 3-5 ผล ไม่ควรเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มดิบหรือสุกแก่ไม่พอเหมาะส่งโรงงานสกัดน้ำมัน เพราะทำให้ปริมาณน้ำมันที่สกัดได้ต่ำ
7) บริเวณพื้นที่ปลูกปาล์มต้องมีแหล่งรับซื้อผลผลิตทะลายปาล์ม
- มีลานเท หรือพ่อค้าคนกลางรับซื้อผลผลิต
- มีโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม
- เจ้าของสวนต้องประเมินปริมาณผลผลิต/ครั้งการเก็บเกี่ยว และค่าขนส่ง/หน่วยผลผลิต
เพื่อการตัดสินใจในการลงทุนปลูกปาล์มน้ำมัน
2.4 ความรู้ทางพันธุศาสตร์กับการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน
จากการศึกษาภายใต้โครงการ “การปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันให้มีผลผลิตน้ำมันสูง” ที่คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สามารถประมวลองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมของปาล์มน้ำมันเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันได้ดังนี้
1) ลักษณะเชิงคุณภาพของปาล์มน้ำมัน
จัดเป็นลักษณะของปาล์มน้ำมันที่มีอัตราการถ่ายทอดทางพันธุกรรมสูงมาก และไม่มีอิทธิพลของปัจจัยสภาพแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง ลักษณะที่พบมียีนควบคุมเพียงคู่เดียวหรือน้อยคู่ การกระจายตัวของลักษณะในชั่วลูกเป็นแบบไม่ต่อเนื่อง ได้แก่
1.1) ลักษณะความหนาของกะลาปาล์ม พบว่า ถูกควบคุมด้วยยีนคู่เดียว โดยลักษณะกะลาปาล์มหนาถูกควบคุมด้วยยีนเด่นโฮโมไซกัส (homozygous) มักพบลักษณะในปาล์มน้ำมันแบบดูรา ในขณะที่ลักษณะกะลาปาล์มบางมากหรือเป็นเยื่อหุ้มเมล็ดในปาล์ม (kernel) ถูกควบคุมด้วยยีนด้อยโฮโมไซกัส มักพบลักษณะในปาล์มน้ำมันแบบพิสิเฟอรา เมื่อทดลองทำการผสมระหว่างต้นแม่-พ่อปาล์มน้ำมันแบบดูรากับพิสิเฟอราที่มีลักษณะกะลาข้างต้น จะทำให้ได้ปาล์มน้ำมันลูกผสมแบบเทเนอรา ที่มีลักษณะความหนาของกะลาบางลงและความหนาของกะลาอยู่ระหว่างลักษณะทั้งสอง ซึ่งสรุปผลได้ว่าการแสดงออกของยีนในลักษณะความหนาของกะลาปาล์มเป็นแบบบวก (additive gene action)
1.2) ลักษณะการปรากฏของเส้นใยสีน้ำตาลบริเวณเนื้อปาล์ม (mesocarp) เมื่อตัดผลปาล์มตามขวาง พบว่าลักษณะถูกควบคุมด้วยยีนคู่เดียว โดยลักษณะการปรากฏของเส้นใยสีน้ำตาลถูกควบคุมด้วยยีนเด่นโฮโมไซกัส ซึ่งพบในปาล์มน้ำมันแบบพิสิเฟอรา และแบบเทเนอรา ในขณะที่ลักษณะการไม่ปรากฏของเส้นใยสีน้ำตาลถูกควบคุมด้วยยีนด้อยโฮโมไซกัส ซึ่งพบในปาล์มน้ำมันแบบดูรา เมื่อทดลองทำการผสมระหว่างต้นแม่-พ่อปาล์มน้ำมันแบบดูรากับพิสิเฟอราที่มีลักษณะข้างต้น จะทำให้ได้ปาล์มน้ำมันลูกผสมแบบเทเนอราที่มีลักษณะการปรากฏของเส้นใยสีน้ำตาลกระจายบริเวณเนื้อปาล์มชัดเจน ซึ่งสรุปผลได้ว่าการแสดงออกของยีนเป็นแบบข่ม (dominant gene action) โดยสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการข่มของยีนแบบสมบูรณ์ เนื่องจากสังเกตเห็นความเด่นชัดของการปรากฎของเส้นใยสีน้ำตาลในปาล์มแบบพิสิเฟอราและแบบเทเนอรา
1.3) ลักษณะสีผลปาล์มขณะยังดิบ (สีเขียวและสีดำ) พบว่าถูกควบคุมด้วยยีนคู่เดียว โดยลักษณะผลสีเขียวถูกควบคุมด้วยยีนด้อยโฮโมไซกัส ในขณะที่ลักษณะผลสีดำถูกควบคุมด้วยยีนเด่นโฮโมไซกัส หรือเฮเทอโรไซกัส จากการทดลอง เมื่อทำการผสมระหว่างต้นปาล์มแบบผลสีเขียว (ต้นพ่อ) จำนวน 1 ต้น กับต้นปาล์มแบบผลสีดำ (ต้นแม่) จำนวน 9 ต้น พบว่าชั่วลูกที่ได้ของแต่ละคู่ผสม (ทั้ง 9 คู่ผสม) มีลักษณะผลสีเขียว : ดำ ในอัตราส่วน 1 : 1 และเมื่อทำการผสมระหว่างต้นปาล์มผลสีดำ (ต้นพ่อ) จำนวน 1 ต้น กับต้นปาล์มผลสีดำ (ต้นแม่) อีกจำนวน 9 ต้น พบว่าชั่วลูกที่ได้ของแต่ละคู่ผสม (ทั้ง 9 คู่ผสม) มีลักษณะผลสีเขียว : ดำ ในอัตราส่วน 1 : 3 จำนวน 6 คู่ผสม และพบลักษณะผลสีดำทุกต้น จำนวน 3 คู่ผสม ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวนี้ถือเป็นเรื่องใหม่เนื่องจากได้ผลการศึกษาตรงกันข้ามกับการศึกษาในอดีตซึ่งได้รายงานว่าลักษณะผลสีเขียวถูกควบคุมด้วยยีนเด่นโฮโมไซกัส หรือเฮเทอโรไซกัส ส่วนลักษณะผลสีดำถูกควบคุมด้วยยีนด้อยโฮโมไซกัส (Beirneart and Vanderweyen, 1941 อ้างโดย Corley and Tinker, 2003)
1.4) ลักษณะทางใบปาล์มบิดเป็นเกลียว (spiral frond symptom หรือ crown symptom) โดยทั่วไปลักษณะทางใบปาล์มบิดมักจะเริ่มแสดงอาการในปาล์มน้ำมันที่มีอายุน้อยอยู่ระหว่าง 2-4 ปี หลังจากปลูกลงแปลง และอาการทางใบบิดของปาล์มจะเริ่มหายไปเมื่อปาล์มมีอายุมากขึ้น จากรายงานพบว่าลักษณะนี้มีผลกระทบทำให้ผลผลิตทะลายปาล์มลดลงถึง 20-50% ผลการศึกษาทางพันธุกรรมในอดีตได้รายงานว่าลักษณะทางใบปาล์มบิดถูกควบคุมด้วยยีนด้อย 1 คู่ (de Berchoux and Gascon, 1960 อ้างโดย Corley and Tinker, 2003) หรือถูกควบคุมด้วยยีน 2 คู่ โดยยีนด้อยคู่หนึ่งควบคุมลักษณะทางใบบิด ส่วนยีนอีกคู่หนึ่งเป็นยีนเด่นแสดงผลในการยับยั้ง (inhibitor factor) การเกิดทางใบปาล์มบิด (Blaak, 1970 อ้างโดย Corley and Tinker, 2003)
จากการทดลองภายใต้โครงการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่คณะทรัพยากรธรรมชาติ โดยได้ทำการผสมตัวเองต้นปาล์มน้ำมันแบบดูราอายุ 15 ปี ที่มีลักษณะทางใบปกติ และให้ผลผลิตทะลายสูง จำนวน 4 คู่ผสม และนำแต่ละคู่ผสมไปปลูก จำนวน 50 ต้นต่อคู่ผสม พบว่า มีจำนวน 1 คู่ผสม ที่มีการกระจายตัวของลักษณะทางใบปาล์มบิด และทางใบปาล์มปกติ จำนวน 38 และ 12 ต้น ตามลำดับ ส่วนคู่ผสมอื่นๆ ไม่พบลักษณะการเกิดทางใบบิด จากผลการศึกษาในคู่ผสมที่มีการกระจายตัวของลักษณะ พอจะสรุปถึงสาเหตุอันเนื่องมาจากพันธุกรรมได้ 2 กรณี คือ กรณีแรก ลักษณะทางใบปาล์มบิดอาจถูกควบคุมด้วยยีนเด่น 1 คู่ เนื่องจากมีการกระจายตัวของลักษณะเป็นไปตามกฎของเมนเดล (ทางใบบิด : ทางใบปกติ อัตรา 3 : 1) กรณีที่สอง ลักษณะทางใบปาล์มบิดอาจถูกควบคุมด้วยยีน 2 คู่ ที่เป็นอิสระต่อกัน โดยลักษณะทางใบปาล์มปกติจะมียีนด้อยโฮโมไซกัสคู่หนึ่งทำหน้าที่เป็นยีนยับยั้ง ยีนอีกคู่หนึ่งซึ่งเป็นยีนเด่นที่ควบคุมลักษณะทางใบบิด ยีโนไทป์ของยีนเด่นอาจอยู่ในรูปโฮโมไซกัสหรือเฮเทอโรไซกัส และเมื่อยีนด้อยโฮโมไซกัสที่ควบคุมลักษณะทางใบปาล์มปกติอยู่ร่วมกับยีนด้อยโฮโมไซกัสของอีกคู่หนึ่ง จะส่งผลให้ปาล์มมีลักษณะทางใบปาล์มบิดด้วยเช่นกัน ผลของการควบคุมด้วยยีน 2 คู่ ที่มียีนยับยั้งต่อลักษณะทางใบปาล์มบิดนี้ จะมีการกระจายตัวของลักษณะทางใบบิด : ทางใบปกติ ในอัตรา 13 : 3 ตามลำดับ ซึ่งในกรณีที่สองนี้มีความเป็นไปได้สูงกว่าในกรณีแรกที่กล่าวแล้ว และมีความสอดคล้องกับข้อมูลการกระจายตัวของลักษณะที่ศึกษาเช่นกัน อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษานี้จะเห็นว่าไม่สอดคล้องกับรายงานที่เคยมีผู้ศึกษามาก่อน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันข้อสรุปให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
2) ลักษณะเชิงปริมาณของปาล์มน้ำมัน
จัดเป็นลักษณะของปาล์มน้ำมันที่มีอัตราการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแปรปรวนตั้งแต่ต่ำ-สูง และมีอิทธิพลของปัจจัยสภาพแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง ลักษณะที่พบมียีนควบคุมหลายคู่ การกระจายตัวของลักษณะในชั่วลูกเป็นแบบต่อเนื่อง ได้แก่
2.1) ลักษณะผลผลิตทะลาย (จำนวนทะลาย/ต้น น้ำหนัก/ทะลาย และ น้ำหนักทะลาย/ต้น)
2.2) ลักษณะองค์ประกอบของทะลายปาล์ม (ได้แก่ น้ำหนัก/ผล น้ำหนักเนื้อเมล็ดใน/ผล %ผล/ทะลาย %เนื้อปาล์มชั้นนอก/ผล %เนื้อเมล็ดใน/ผล % กะลา/ผล %น้ำมัน/เนื้อปาล์มสด %น้ำมัน/เนื้อปาล์มแห้ง %น้ำมัน/ทะลาย %เนื้อเมล็ดใน/ทะลาย และ %น้ำมันเนื้อเมล็ดใน/ทะลาย)
2.3) ลักษณะผลผลิตน้ำมัน (ผลผลิตน้ำมัน/ต้น/ปี และ ผลผลิตน้ำมันเมล็ดใน/ต้น/ปี)
2.4) ลักษณะการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน (ความสูง ความยาวทางใบ ความยาวใบย่อย ความกว้างใบย่อย จำนวนใบย่อย พื้นที่ใบ และจำนวนทางใบ)
จากผลการศึกษาภายใต้โครงการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน พบว่าค่าอัตราพันธุกรรมของลักษณะต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นมีความแปรปรวนค่อนข้างสูง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของเชื้อพันธุกรรมของปาล์มที่ใช้ในการศึกษา อายุของปาล์ม และสภาพแวดล้อมในแปลงทดลอง อย่างไรก็ตามเมื่อประมวลผลการศึกษาต่าง ๆ บนพื้นฐานค่าประมาณการของอัตราพันธุกรรมของลักษณะต่างๆ ที่สูง พอสรุปได้ว่าลักษณะที่ควรใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกเพื่อการปรับปรุงประชากรพ่อ-แม่พันธุ์ปาล์มน้ำมัน ได้แก่ ลักษณะผลผลิตทะลาย น้ำหนัก/ผล น้ำหนักเนื้อเมล็ดใน/ผล %เนื้อปาล์มชั้นนอก/ผล %เนื้อเมล็ดใน/ผล %น้ำมัน/เนื้อปาล์มแห้ง ลักษณะผลผลิตน้ำมัน ความสูง และความยาวทางใบ
ที่มา : ธีระ เอกสมทราเมษฐ์ สำนักประสานงานวิจัยและพัฒนา “ปาล์มน้ำมัน” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552
Oil palm
The oil palms (Elaeis) comprise two species of the Arecaceae, or palm family. They are used in commercial agriculture in the production of palm oil. The African Oil Palm Elaeis guineensis is native to west Africa, occurring between Angola and Gambia, while the American Oil Palm Elaeis oleifera is native to tropical Central America and South America. The generic name is derived from the Greek for oil, elaion, while the species name refers to its country of origin.
Mature trees are single-stemmed, and grow to 20 m tall. The leaves are pinnate, and reach between 3-5 m long. A young tree produces about 30 leaves a year. Established trees over 10 years produce about 20 leaves a year. The flowers are produced in dense clusters; each individual flower is small, with three sepals and three petals.
The palm fruit takes five to six months to mature from pollination to maturity. Each fruit is made up of oily, fleshy outer layer (the pericarp), with a single seed (kernel), also rich in oil. When ripe, each bunch of fruit weigh 40-50 kilogrammes. The palm fruit is reddish, about the size of a large plum and grows in large bunches. Each fruit contains a single seed (the palm kernel) surrounded by a soft oily pulp.
Main article: Palm oil
Oil is extracted from both the pulp of the fruit (palm oil, an edible oil) and the kernel (palm kernel oil, used mainly for soap manufacture). For every 100 kilograms of fruit bunches, typically 22 kilograms of palm oil and 1.6 kilograms of palm kernel oil can be extracted.
The high oil yield of oil palm trees (as high as 7,250 liters per hectare per year) has made it a common cooking ingredient in southeast Asia and the tropical belt of Africa. Its increasing use in the commercial food industry in other parts of the world is buoyed by its cheaper pricing, the high oxidative stability of the refined product and high levels of natural antioxidants.
Since palm oil contains more saturated fats than canola oil, corn oil, linseed oil, soybean oil, safflower oil, and sunflower oil, it can withstand extreme deepfry heat and is resistant to oxidation.
Mature trees are single-stemmed, and grow to 20 m tall. The leaves are pinnate, and reach between 3-5 m long. A young tree produces about 30 leaves a year. Established trees over 10 years produce about 20 leaves a year. The flowers are produced in dense clusters; each individual flower is small, with three sepals and three petals.
The palm fruit takes five to six months to mature from pollination to maturity. Each fruit is made up of oily, fleshy outer layer (the pericarp), with a single seed (kernel), also rich in oil. When ripe, each bunch of fruit weigh 40-50 kilogrammes. The palm fruit is reddish, about the size of a large plum and grows in large bunches. Each fruit contains a single seed (the palm kernel) surrounded by a soft oily pulp.
Main article: Palm oil
Oil is extracted from both the pulp of the fruit (palm oil, an edible oil) and the kernel (palm kernel oil, used mainly for soap manufacture). For every 100 kilograms of fruit bunches, typically 22 kilograms of palm oil and 1.6 kilograms of palm kernel oil can be extracted.
The high oil yield of oil palm trees (as high as 7,250 liters per hectare per year) has made it a common cooking ingredient in southeast Asia and the tropical belt of Africa. Its increasing use in the commercial food industry in other parts of the world is buoyed by its cheaper pricing, the high oxidative stability of the refined product and high levels of natural antioxidants.
Since palm oil contains more saturated fats than canola oil, corn oil, linseed oil, soybean oil, safflower oil, and sunflower oil, it can withstand extreme deepfry heat and is resistant to oxidation.
วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
OIL PALM & THE ENVIRONMENT
Introduction
The oil palm development in Malaysia has been colourful.Starting off as ornamental, the crop has developed to the multi billion ringgit industry as what is witness today. In its Africa the crop exits wild in the groves facing varicus constraints in efforts towards domestication. It is in Malaysia that the crop's full potential was exploited.This transformation from wlid to domesticated, growing in neat rows under well managed plantations, is not without cost. A lot effort went into understanding this 'new' crop and means of fitting it to its new home.
It was during this development that more was learnt about the crop and its interaction with the environment.Sucess in the plantation development carried the crop to a new challenge, that is in the processing technology. Again, being the pioneer, Malaysia had to take the lead in this new endeavour. Almost single handedly, we developed technologies which are not only economically sound but also sensitive to environmental needs.Throughout its entire development in Malaysia, both upstream and downstream, the oil palm and its products have products have always been linked with the environment. It is this sensitivity to the environment that sees the crop to where it is today.
New genotypes adapted to cold and water deficit conditions
ASD has a long tradition of developing new oil palm varieties adapted to different environmental conditions. More recently, two new trials were planted in highlands at 1,200 and 900 meters above sea level in the mountainous region of San Vito in southern Costa Rica. The first of these trials was planted in an area that has high precipitation and the other in a site where there is a marked dry season. A replication of all genotypes was planted in the lowlands of the Coto experimental station. The varieties planted were Deli x Ghana, Deli x Nigeria, Bamenda x Ekona and Tanzania x Ekona.
Bunch production has just began in these plots, but in the highlands it has been clear that vegetative growth and precocity have been better in the Bamenda x Ekona and Tanzania x Ekona varieties (the mother palms of these varieties were originally collected from highlands in their respective regions of Africa). Nevertheless, in the lowlands (where vegetative growth and precocity have been better) all varieties have performed similarly. We will keep you posted on any new developments from these trials.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)